เมนู

คือมิตรและเผ่าพันธุ์คือศิลป. บทว่า ยโถธิกานิ ได้แก่ ซึ่งตั้งอยู่ตามเขต
ของตน ๆ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบพรรณนาปุตตทารคาถา

พรรณนาสังคคาถา


คาถาว่า สงฺโค เอโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า ปาทโลล-
พรหมทัต
พระองค์เสวยยาคูและพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วทอด
พระเนตรละคร 3 อย่าง ในปราสาททั้ง 3. การฟ้อนชื่อว่ามี 3 อย่าง
คือการฟ้อนอันมาจากพระราชาองค์ก่อน 1 การฟ้อนอันมาจากพระราชา
ต่อมา 1 การฟ้อนอันตั้งขึ้นในกาลของตน 1. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จ
ไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนสาวแต่เช้าตรู่. หญิงฟ้อนเหล่านั้นคิดว่า จักทำ
พระราชาให้ยินดี จึงพากันประกอบการฟ้อน การขับ และการประโคม
เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง ประดุจนางอัปสรประกอบถวายแก่ท้าวสักกะผู้
เป็นจอมเทวดาฉะนั้น. พระราชาไม่ทรงยินดีด้วย ดำริว่า นี้ไม่น่าอัศจรรย์
สำหรับคนสาว จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนปูนกลาง. หญิงฟ้อน
แม้เหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระองค์ก็ไม่ทรงยินดี
เหมือนอย่างนั้น แม้ในหญิงฟ้อนปูนกลางนั้น จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มี
หญิงฟ้อนเป็นคนแก่. แม้หญิงฟ้อนเหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.
พระราชาทรงเห็นการฟ้อนเสมือนกระดูกเล่นแสดง และได้ทรงฟังการขับ

ไม่ไพเราะ เพราะหญิงฟ้อนเหล่านั้นเป็นไปล่วง 2-3 ชั่วพระราชาแล้ว
จึงเป็นคนแก่ จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีหญิงฟ้อนสาว ๆ ซ้ำอีก แล้ว
เสด็จไปยังปราสาทที่มีหญิงปูนกลางช้ำอีก พระองค์ทรงเที่ยวไปแม้อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่ทรงยินดีในปราสาทไหน ๆ จึงทรงดำริว่า หญิง
ฟ้อนเหล่านี้ ประสงค์จะยังเราให้ยินดี จึงเอาเรี่ยวแรงทั้งหมดประกอบ
การฟ้อน การขับ และการประโคม ประดุจนางอัปสรทั้งหลาย ประสงค์
จะให้ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงยินดี จึงประกอบถวายฉะนั้น. เรานั้นไม่
ยินดีในที่ไหน ๆ ทำให้รกโลก. ก็ขึ้นชื่อว่าความโลภนี้ เป็นธรรมที่ตั้ง
แห่งการไปสู่อบาย เอาเถอะ เราจักข่มความโลภเสีย จึงสละราชสมบัติ
แล้วทรงผนวช เจริญวิปัสสนาแล้วได้ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้
ตรัสอุทานคาถานี้.
เนื้อความแห่งอุทานคาถานั้นว่า :- พระราชาทรงชี้แจงเครื่องใช้
สอยของพระองค์ด้วยบทว่า สงฺโค เอโส นี้. เพราะเครื่องใช้สอยนั้น
ชื่อว่า สังคะ เพราะเป็นที่ข้องอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ดุจช้างเข้าไป (ติด)
อยู่ในเปือกตมฉะนั้น. ในบทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ นี้ ความสุขชื่อว่า
นิดหน่อย เพราะอรรถว่า ต่ำช้า โดยจะต้องให้เกิดขึ้นด้วยสัญญาวิปริต
ในเวลาใช้สอยกามคุณ 5 หรือโดยนับเนื่องในธรรมอันเป็นกามาวจร
คือเป็นของชั่วครู่เหมือนความสุขในการเห็นการฟ้อนด้วยแสงสว่างแห่งแสง
ฟ้าแลบ อธิบายว่า เป็นไปชั่วคราว. ก็ในบทว่า อปฺปสฺสาโท ทุกฺข-
เมเวตฺถ ภิยฺโย
นี้ ความยินดีใดที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข-
โสมนัสอาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้เกิดขึ้นใด นี้เป็นความยินดีในกามทั้งหลาย
ความยินดีนั้น คือทุกข์ ในความเกี่ยวข้องนี้ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษของกามทั้งหลายเป็นอย่างไร ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในพระศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยฐานะแห่งศิลปะ
ใด คือด้วยการตีตรา หรือด้วยการคำนวณดังนี้ ว่าด้วยการเทียบเคียงกัน
ทุกข์นั้นมีน้อย ประมาณเท่าหยาดน้ำ โดยที่แท้ ทุกข์เท่านั้นมีมากยิ่ง
เช่นกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในความ
เกี่ยวข้องนี้ มีความยินดีน้อย ทุกข์เท่านั้นมากยิ่ง. บทว่า คโฬ เอโส
ความว่า ความเกียวข้องคือกามคุณ 5 นี้ เปรียบดังเบ็ด โดยแสดงความ
ยินดีแล้วฉุดลากมา. บทว่า อิติ ญตฺวา มติมา ความว่า บุรุษผู้มีความรู้
คือ เป็นบัณฑิต รู้อย่างนี้แล้ว พึงละความเกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นแล้วเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.
จบพรรณนาสังคคาถา

พรรณนาสันทาลคาถา


คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตต-
พรหมทัต
พระราชานั้นเข้าสู่สงความไม่ชนะ หรือทรงปรารภกิจอื่นไม่
สำเร็จจะไม่กลับมา. เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพระองค์อย่างนั้น.
วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปพระราชอุทยาน.
ก็สมัยนั้น ไฟป่าเกิดขึ้น ไฟนั้นไหม้ไม้เเห้งและหญ้าสดเป็นต้น
ลามไปไม่กลับเลย. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีไฟป่าน